กรุงไทย เดินหน้าสร้างการเติบโตยั่งยืนบนธุรกิจเดิม-ต่อยอดธุรกิจใหม่

“ผยง” ประธานสมาคมไทย ปลุกภาคการเงินฝ่าความท้าทาย-จับโอกาส Blue Ocean ใหม่ ๆ สร้างมูลค่าทางบัญชีด้วยฐานลูกค้า-หาธุรกิจใหม่เรียกเชื่อมั่นนักลงทุนและเติบโตแบบยั่งยืน

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวในงานสัมมนางานสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ในหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจ-ธุรกิจไทย ไปทางไหน? หลังวิกฤตโควิด-19” ว่า โดยระบุว่า ภาคการเงินยังมีความท้าทายอย่างต่อเนื่อง

 

ได้แก่ การเผชิญกับหน้าผาหนี้เอ็นพีแอล(NPL Cilff ) ก้อนมหาศาลของระบบเศรษฐกิจ ขณะที่สถานการณ์ของโอมิครอนขยายวงออกไปทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นถูกลดทอนลงแม้จะมีแรงส่ง หรือปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) และสงครามการค้า แบ่งคลัสเตอร์ระดับภูมิภาคมากขึ้น ไม่ว่าคู่ค้า เทคโนโลยี รวมถึงซัพพลายเชน

 

ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีความท้าทายเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ(Climate Change) ซึ่งขับเคลื่อนการปฎิรูประบบเศรษฐกิจโลก และความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะช่วงโควิดข19 การได้รับวัคซีนที่ไม่เท่ากัน รวมถึงหนี้ภาคครัวเรือนยังได้รับความบอบซ้ำ

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้อยู่ที่ 3.0-4.5% แต่ส่วนใหญ่อยู่ที่ 4.0% ก็มีความท้าทายเรื่องเครื่องยนต์ของเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคส่งออกและภาคท่องเที่ยว อาจไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ซึ่งต้องพึ่งภาครัฐกระตุ้นกว่าภาคเอกชนจะกลับมาเต็มที่ เหล่านี้เป็นความท้าทาย

 

ต่อข้อถามถึงความเปลี่ยนแปลงธนาคารพาณิชย์นั้น นายผยงระบุว่า ระบบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐของไทย ซึ่งอยู่คู่กันมาเป็น 100ปี บนโครงสร้างเดิม

 

ส่วนโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากดิสรัปชั่น และระบบเศรษฐกิจใหม่ รูปแบบการชำระเงินและความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ ซึ่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้หรือความจำเป็นในการใช้เงินทุน

 

โดยคู่แข่งใหม่ นันแบงก์กับธนาคารมีเส้นแบงก์เริ่มเบลอ ซึ่งอาจนำไปสู่ความไร้ตัวกลาง ดังนั้นประสิทธิภาพของเทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเผชิญ

อย่างไรก็ตามความท้าทาย 4 เรื่องที่ภาคการเงินต้องเผชิญ คือ

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำให้ต้องรับผิดชอบมากขึ้น ในการใช้ทรัพยากรหรือสภาพคล่องท ซึ่งเป็นความคาดหวังสังคม
การลดความเหลื่อมล้ำด้วยเครื่องมือใหม่ให้คนเข้าถึงบริการทางการเงิน ขณะที่ระดับหนี้ครัวเรือนสูงถึง 90% จะดูแลความสามารถในการชำระหนี้อย่างไรไม่ไปกระทบสภาพคล่อง
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งประชากรไทยมีลูกน้อยลง จำนวนประชากรลดลงซึ่งย่อมกระทบ Productivityแน่นอน คำถามจะตอบโจทย์โลกใหม่อย่างไรหรือรักษาความสมดุลระหว่างสังคมผู้สูงอายุที่ต้องใช้เงินในการดูแลสุขภาพ รักษาพยาบาลและตัวบุคคลไม่สามารถสร้างรายได้ในระดับเดิม เหล่านี้จะสร้างทดแทนคนรุ่นใหม่หรือเพิ่มผลิตภาพได้อย่างไร ซึ่งก็ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ซึ่งจะกระทบฐานลูกค้าของธนาคาร และ
แรงงานในระบบที่ไม่ถูก Re-Trend เพื่อตอบโจทย์ดีมานด์ของการจ้างงาน หรือหากไม่ปิดช่องโหว่ก็จะเป็นภาระต่อสังคม

ขณะเดียวกันสิ่งที่เป็นโอกาสจากสิ่งที่ดิสรัปหรือ Blue Ocean ใหม่ ๆ อาจจะต้องมีฐานลูกค้านำไปสู่การใช้เทคโนโลยี่ ลงทุนใหม่ ปรับกระบวนการผลิตหรือการให้บริการใหม่ ซึ่งเป็นเครื่องยยนต์ในการเติบโตทั้งสิ้น

ฉะนั้นโอกาสแรก คือ การปฎิรูปหรือทรานฟอร์ม(Digital Transformation) 2. การนำดิจิทัลใหม่ๆ มาใช้เพิ่มประสิทธิผล 3. การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ Green economy สร้างตลาดใหม่ ปรับกระบวนการผลิตในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์สิ่งที่เปลี่ยนไป และ 4. การดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการปรับตัวได้

กรุงไทย เดินหน้าสร้างการเติบโตยั่งยืนบนธุรกิจเดิม-ต่อยอดธุรกิจใหม่

ต่อข้อถามทิศทางระบบธนาคารพาณิชย์นั้น นายผยง ระบุว่า สมาคมธนาคารไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ 3 ปีบน 4 ธีมไว้ ได้แก่

การยกระดับศักยภาพในการแข่งขันภาคการเงินของประเทศ โดยผลักดันร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ภาคเอกชน เช่น สอท. สภาหอการค้า ส่วนราชการอื่น หรือสภาการส่งออกและกรมสรรพากร ในการพัฒนาสมาร์ทแอนด์เพย์เม้นต์ซึ่งเป็นการนำระบบISO20022มาใช้กับระบบวางบิล หรือเรียกเก็บเงินโดยใช้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี่ ซึ่งมีต้นทุนมหาศาลจึงต้องมีแพลตฟอร์มกลางเพื่อมิให้ลงทุนซ้ำซ้อน หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือการยืนยันตัวตัว(NDID) และลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์(e signature) รวมถึงระบบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย รวมไปจนถึงระบบรองรับภัยทางไซเบอร์ เหล่านี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ถ้าลงทุนซ้ำซ้อนจะแพงและตามโลกไม่ทัน จึงต้องให้ความสำคัญต่อการเชื่อมต่อเพื่อยกระดับความสามารถของประเทศ
การเป็นผู้นำการให้บริการทางการเงินในภูมิภาค (Regional Championing) การเชื่อมโยงระบบโครงสร้างทางการเงินระหว่างกันในภูมิภาค เป็นพันธมิตรกับเพื่อนบ้านเพื่มเพิ่มศักยภาพในการนำไปสู่ Global Productivity หรือเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยระบบธนาคารพาณิชย์ต้องตอบโจทย์ Regional Championing
การตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม สังคมและความยั่งยืน(ESG) ไม่ว่าโลกร้อน หรือลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนด์(Net Zero) ลดความเหลื่อมล้ำหรือการให้ความรู้ทุกภาคส่วน ประชาชน ผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะคนตัวเล็กให้สามารถเข้าถึงระบการเงินได้อย่างเท่าเทียม และมีทางเลือก เช่น เร่งนำข้อมูลทางเลือกมาใช้พิจารณากิจกรรมการค้าไม่ใช่เฉพาะหลักฐานทางการเงินเท่านั้น และ
การให้ความสำคัญด้านทุนมนุษย์หรือทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งต้องสร้างทักษะใหม่ๆ ไม่ว่า Upskill & Reskill เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงความร่วมมือกับระบบ ไม่ว่าผ่านทางสภาหอการค้าหรือสอท. เพื่อตอบโจทย์Human Capital สร้างEconomic Valued ได้
โดยยุทธศาสตร์ทั้ง 4ธีมดังกล่าวสอดคล้องกับประกาศของธปท.ในการปรับภูมิทัศน์ภาคการเงินไทยโดยยึดโยงกับ 3 Open ได้แก่

Open Infrastructure คือ มีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่เปิดกว้าง ให้ผู้ให้บริการที่หลากหลายสามารถเชื่อมต่อและเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสม และทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกบริการ Digital ที่ตอบโจทย์มากขึ้น
Open Data การเชื่อมโยงข้อมูล การนำข้อมูลบนฐานเดียวกันมาใช้ เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางการเงินหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างไร้รอยต่อ และ
Open Competition ซึ่งจะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในระบบ สิ่งที่ต้องขับเคลื่อนต่อไป เพื่อให้มีความยั่งยืนซึ่งการไม่สร้างภาระต่อระบบและสร้างความสามารถในการแข่งขันที่เท่าเทียมกันในเรื่องกฎกติกา ซึ่งอุตสาหกรรมธนาคารจะถูกกำกับมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ระดับการรักษาสภาพคล่อง การให้บริการที่เป็นธรรมหรือมาร์เก็ตคอนดักส์ เสถียรภาพเพื่อมิให้ระบบสะดุด มาตรฐานเหล่านี้ต้องไม่ถูกลดทอนในกระบวนการ ซึ่งเป็นความท้าทายที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งที่เห็นตรงกันระหว่างธปท.และสมาคม โดยหลังจากนี้ขึ้นอยู่กับการกระทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างไร
นายผยงกล่าวถึงในส่วนของธนาคารกรุงไทยในโลกแห่งอนาคตว่า ด้วยสถานะของกรุงไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐยังคงให้ความสำคัญกับการเติบโตของระบบนิเวศน์ กับการเติบโตขององค์กร โดยเป็นเป็น 5แกน คือ 1.จำเป็นต้องรักษาการเติบโตโลกเก่าบน งบดุลของธนาคารและต้องดูแลและช่วยลูกค้าเดินไปสู่โลกใหม่บนธุรกิจหลัก(Core Growth)ที่ยังคงอยู่

 

2.การหารูปแบบของธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งผู้เล่นใหม่เข้ามา และมูลค่าหุ้นตามบัญชีเฉลี่ย0.7-0.8% ไม่ถึง 1% ขณะที่ นักลงทุนมองความสามารถของระบบธนาคารพาณิชย์จะลดลงจึงต้องสร้างความมั่นใจกับนักลงทุน ด้วยการหารูปแบบธุรกิจใหม่ๆ

 

3.การขยายธุรกิจบนระบบนิเวศน์หรือบนEcosystem ที่ยึดโยงบน 5 Ecosystem ได้แก่ ระบบภาครัฐ การชำระเงิน ระบบสุขภาพ ระบบการศึกษา และระบบขนส่งคมนาคม โดยให้ความสำคัญกับการขยายพันธมิตร ต่อยอดระบบนิเวศน์และมีแพลตฟอร์มเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อในแต่ละอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันต้องมีธุรกิจใหม่ขึ้นมา

 

4.การปรับการทำงานภายในองค์กร เร่งลดการใช้กระดาษ หรือไม่มีกระดาษ ซึ่งทุกอย่างจะเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อ และเชื่อมโยงด้วยโครงสร้างข้อมูล ที่เหมาะสม ที่ให้บริการลูกค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพราะการแข่งขันบนดิจิทัลต้องเรียลไทม์ และ

 

5.ตอบโจทย์การเติบโตแบบยั่งยืน ESG และมุ่งสู่ แพลตฟอร์มที่มีอยู่ 4แพลตฟอร์ม “ เป๋าตัง – กรุงไทยเน็ก- ถุงเงิน -กรุงไทยบิสสิเนส ทั้งหมดเป็นยุทธศาสตร์ของกรุงไทยใน 4สเต็ป ตั้งแต่ สร้างแพลตฟอร์ม, จำนวนลูกค้าที่เข้ามาอยู่อย่างเต็มรูปแบบ,ประมวลข้อมูลเพื่อตอบโจทย์ได้มากขึ้นและสามารถทำรายได้ในที่สุด

อ้างอิง
https://www.thansettakij.com/money_market